ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมาคงได้ยินข่าวเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมทางอากาศของกรุงเทพฯ บ้านเราเหมือนมีหมอกเข้ามาปกคลุมให้บรรยากาศอึมครึมแปลก ๆ ทั้งที่เป็นเมืองร้อน ทว่าหมอกดังกล่าวหาใช่หมอกจากธรรมชาติไม่เพราะมันคือฝุ่นละอองที่ปกคลุมท้องฟ้าทั่วเมืองกรุงชนิดที่ระดับค่าฝุ่นละอองเกินมาตรฐานไปไกลจนทำเอาชาวกรุงเทพฯ หลาย ๆ คนต้องป้องกันตนเองด้วยการเอาหน้ากากอนามัยมาปิดจมูกเอาไว้ไม่ให้ฝุ่นละอองดังกล่าวเข้าสู่ร่างกาย กลายเป็นปัญหามลพิษทางอากาศที่ต้องเร่งหาวิธีแก้ไขจัดการโดยด่วนที่สุด
ปัญหาเกี่ยวกับมลพิษทางอากาศในกรุงเทพ
สิ่งหนึ่งที่ต้องยอมรับเกี่ยวกับปัญหามลพิษทางอากาศในเมืองหลวงของประเทศไทยเกิดจากสภาพการจราจรที่มีผู้คนใช้รถยนต์ส่วนตัวเยอะมาก ในหลาย ๆ พื้นที่บนท้องถนนของกรุงเทพฯ สภาพการจราจรติดขัด แออัด แถมยังไม่มีทีท่าว่าใครจะลดปริมาณการใช้รถยนต์ให้น้อยลงเลยด้วยซ้ำ มีการตรวจพบปริมาณฝุ่นละออกขนาดเล็กในพื้นที่ของกรุงเทพฯ เมื่อปี 2560 ปรากฏว่าอยู่ในระดับถึง 2.5 ไมครอน โดยจุดที่พบปัญหาฝุ่นละอองเยอะมาก ๆ จะอยู่ตรงบริเวณเขตเศรษฐกิจและเขตเมืองทั้งหลาย โดยค่าบริเวณดังกล่าวที่สามารถวัดได้สูงระดับ 50 ไมโครกรัมต่อ ลบ.ม. ซึ่งได้มีการตรวจวัดทั้งหมด 23 จุดพบว่าทุกจุดเป็นเหมือนกันหมด สำหรับจุดที่ถูกตรวจพบว่ามีค่าฝุ่นละอองในอากาศมากสุดคือเขตบางเขนและเขตธนบุรี จากการตรวจวัดมีค่าสูงถึง 116 ไมโครกรัม / ลบ.ม. ปัญหามลพิษเหล่านี้ยังไม่รวมถึงเรื่องการขุดเจาะซ่อมแซมหรือขยายพื้นที่ต่าง ๆ รวมไปถึงภาคครัวเรือนที่อาจการเผาขยะทำให้เกิดควันพิษและแน่นอนภาคอุตสาหกรรมที่โรงงานทั้งหลายต่างปล่อยควันพิษออกมาจนกลายเป็นการทำลายชั้นบรรยากาศ
เข้าใจดีว่าส่วนหนึ่งที่เกิดปัญหาสภาพแวดล้อมทางอากาศในกรุงเทพฯ บ้านเรามาจากการใช้ชีวิตโดยเฉพาะเรื่องการเดินทางยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้คนจำนวนมากต้องเลือกใช้รถยนต์เพราะสะดวกสบายมากกว่า ระบบขนส่งสาธารณะอย่ารถไฟฟ้าเองก็มีแค่ในตัวเมืองคนที่อาศัยย่านชานเมืองแต่ต้องเข้ามาทำงานใจกลางเมืองสุดท้ายก็ไม่พ้นการใช้รถยนต์ เมื่อต้นตอของปัญหายังไม่ถูกแก้ไขมันจึงกลายเป็นเรื่องราวใหญ่โตจนทำเอาหลายคนถึงกับตกใจได้ง่าย ๆ
เรื่องนี้คงเป็นเรื่องที่ต้องหาทางแก้ไขจัดการปัญหากันอีกนานเนื่องจากการจะเปลี่ยนพฤติกรรมคนให้ใช้ชีวิตอีกรูปแบบหนึ่งเป็นเรื่องยากนอกจากพวกเขาจะมองว่าสิ่งใหม่ ๆ ที่จะเกิดขึ้นมันสร้างประโยชน์ให้พวกเขามากกว่า เมื่อเป็นเช่นนี้สิ่งที่ต้องทำคือพยายามมองไปยังตนเองพร้อมลดอัตราเสี่ยงในการทำให้เกิดมลพิษไม่ว่าช่องทางใดก็ตามเพื่อให้กรุงเทพฯ น่าอยู่ต่อไป